วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้ง ที่16

วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนร่วม
วันอังคาร ที่30 เมษายน 2558
ครั้งที่ 16 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14:10 - 16:40


วันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายในวิชานี้
สอบจับฉลากร้องเพลงว่าจะได้เพลงไหน

เพลง ไก่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1วัน ได้ไข่ 1ฟอง





ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกสำหรับเทอมนี้







บันทึกอนุทินครั้ง ที่15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558 
ครั้งที่15 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14:10 - 16:40 น.


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
(Individualized Education Program)

   
    IEP 

       - เป็นแผนที่ไม่ได้ทำขึ้นคนเดียว ทำกันหลายคน เช่น ครู หมอ
   ผู้ปกครอง ผุ้บริหารโรงเรียน
       - ในทางปฎิบัติครูประจำชั้นเป็นคนเขียนแล้วให้คนอื่นดู บางแผนอาจใช้
   เทอมเดียว บางแผนใช้หนึ่งปี
       - แผน IEP จะเขียนได้ก็ต่อเมื่อครูรู้รายละเอียดเด็กถี่ถ้วนต้องได้สัมผัส
   กับเด็กเป็นเวลา 1 เทอมจนครูรู้อาการ นิสัย   ชอบไม่ชอบอะไรบ้าง 
   ครอบครัวเป็นอย่างไร
      

การเขียนแผน IEP 

   - คัดแยกเด็กพิเศษ
   - ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
   - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
   - เด็กสามารถทำอะไรและทำอะไรไม่ได้บ้าง
   - จึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย 

    - ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
    - ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการอะไรพิเศษบ้าง
    - ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
    - เป้าหมายระยะยาว - ระยะสั้น
    - ระบุวัน เดือน ปีที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
    - วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก 
  
   - ได้เรียนรู้ความสามารถของตนเอง
   - ได้โอกาสพัฒนาความสามรถของตนเอง
   - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องอย่างเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู 

 - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อในการสอนและวิธีการสอน
ที่เหมาะสมกับเด็ก
 - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามรถ
และความต้องการของเด็ก
 - ตรวจสอบและประเมินผลได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง 

  - ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็ก
พัฒนาความสามรถได้สูงสุดตามศักยภาพ
 -  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่าง
ต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการทำแผน IEP 

   - การกำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะยาว/ระยะสั้น
   - การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ การประเมินด้านต่างๆ 
     บันทึกจากครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง







  ประเมินตนเอง 
    
   แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เพราะการเขียน
 แผน IEP ต้องนำไปใช้ในอนาคต
  
  ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆชวนอาจารย์คุยบ้างแต่เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการช่วยกัน
 ทำงานเป็นกลุ่มในการเขียนแผน IEP

  ประเมินอาจารย์
   
   อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง มีการอธิบายแผน IEP ให้นัก
 ศึกษาฟังอย่างละเอียดเข้าใจง่ายสามารถนำไปเขียนเองได้   

 





วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคาร ที่14 เมษายน  2558
ครั้งที่14 กลุ่ม 103  ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14:10 -16:40




สัปดาห์นี้ไม่มีการรเียนการสอนเพราะหยุดประเพณีวันสงกรานต์






บันทึกอนุทิน ครั้งที่13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคาร ที่ 7 เมษายน  2558
ครั้งที่ 13 กลุ่ม 103  ห้องเรียน 443
เวลา 14:10 - 16:40



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน 

  เป้าหมาย

   การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
    - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
    - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

 ช่วงความสนใจ 
   
    - เด็กปกติจะมีช่วงความสนใจประมาณ 10-15 นาที
    - เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจประมาน 5 นาที เช่นการเล่านิทาน
      ไม่ควรใช้นิทานที่เล่าเกิน 5-6 หน้าควรค่อยๆเล่าแล้วเพิ่มระยะเวลา
      ไปเรื่อยๆนิทานอาจจะเล่มหน้าขึ้น

การเลียนแบบ (การเรียนรู้เกิดจากการเลียนแบบ)

  - การเรียนรู้ส่วนมากของเด็กพิเศษจะใช้วิธีการเลียนแบบจากเพื่อน คุณครู
    คนที่โตกว่า คนใกล้ตัวเด็ก
      
       เช่น คุณครูต้องการให้น้องไปหยิบกระเป๋าหน้าชั้นเรียน คุณครูจะต้องเรียก
       น้องที่เป็นเด็กพิเศษก่อนน้องที่เป็นเด็กปกติเพราะเด็กพิเศษจะรู้สึกตัวช้า
       กว่าเด็กปกติพอคุณครูเรียกน้องทั้ง 2 คนแล้วเด็กปกติจะลุกขึ้นไปและ
       เด็กพิเศษจะเดิมตาม(แต่เด็กพิเศษจะไม่ทราบว่าคุณครูให้ทำอะไรแต่
       จะทำตามเด็กปกติเพราะได้ยินชื่อที่คุณครูเรียกพร้อมกัน ) 

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
     
 - ควรสั่งที่ละอย่าง ไม่ควรสั่งพร้อมกันทีละหลายๆอย่าง
 - คำสั่งไม่ควรซับซ้อน เข้าใจง่าย ใช้ศัพท์ที่เด็กเข้าใจง่าย


การรับรู้ การเคลื่อนไหว 

 - ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ----> ตอบสนองอย่างเหมาะสม

    เช่น ถ้วยกาแฟร้อนถ้าเด็กปกติเอามือไปสัมผัสที่ถ้วยเด็กจะกระชากกลับ
    ทันทีแต่ถ้าเป็นเด็กพิเศษเอามือไปสัมผัสถ้วยประสาทรับรู้จะช้าประมาน
    สัก 5 นาทีเด็กจะรู้สึกร้อนและจะปัดถ้วยหกทันที



 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานวิชาการ 

   - จัดกลุ่มเด็ก
   - เริ่มต้นเรียนรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ
   - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
   - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
   - ใช้อุกปรณ์ที่เด็กคุ้นเคย มีอุปกรณ์ไว้เปลี่ยนใกล้มือ
   - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
   - พูดในทางที่ดี ( ชมไว้เสมอถึงงานไม่ได้ออกมาดีก็ต้องชม )
   - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว ทำบทเรียนให้สนุก
    
ประเมินตนเอง
  
  สัปดาห์นี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ตั้งใจจดเพิ่มเติม ชอบคลิปวีดีโอที่อาจารย์เอามาให้
ดูท้ายชั่วโมงมากรู้สึกประทับใจน้องที่น้องไม่มีแขนแต่น้องสามารถใช้ชีวิตได้ปกติไม่
เป็นภาระใครสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ปกติ มันทำให้เราคิดได้ว่าบนโลกนี้มีคนที่
แย่ลำบากกว่าเราเราควรตั้งใจเรียนให้มากกว่าเดิม ช่วยเหลือตัวเองให้ได้พยายาม
เป็นภาระคนอื่นให้น้อยที่สุดและควรพึ่งตัวเองให้มากที่สุด 

  ประเมินเพื่อน

  สัปดาห์นี้เพื่อนๆขาดกันเยอะ แต่คนที่มาก็ตั้งใจเรียนมีคุยกันบ้าง แต่เพื่อนๆก็ยัง
สนใจอาจารย์ตั้งใจฟังและตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง มีข่าวสารมาอัพเดทให้ฟังตลอดคือ
ชอบมากเวลาอาจารย์มาเล่าเรื่องให้ฟัง อาจารย์มีสื่อมาสอนเพิ่มเติมให้นักศึกษา
ทุกครั้ง

บันทึกอนุทิน ครั้งที่12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคารที่ 31 มีนาคม  2558
ครั้งที่12  กลุ่ม103  ห้องเรียน 443
เวลา 14:10 - 16:40



สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเปฺนกิจกรรมกีฬาสีคณะ





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558
ครั้งที่11  กลุ่ม 103  ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14:10 - 16:40 




สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาสอบวัดความรู้ที่เรียนม






วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันอังคาร ที่17 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 10  กลุ่ม 103  ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14:10 - 16:40



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน



การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่วยเหลทอตนเอง
- อย่าทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่




ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

- การทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี



หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  2-3 ปี




การแต่งกาย




การกินอาหาร




การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ




ทั่วไป

ถอดเสื้อออกได้
- เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี



- ใช้ช้อนส้อมได้
- แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
ดื่มน้ำจากแก้วได้

- บอกว่าจะเข้าห้องน้ำโดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้



- เปิดประตูเลื่อนหรือลูกบิดได้
ขึ้นลงบรรไดโดยเกาะราวได้
- เลื่อนเก้าอี้มายืนเพื่อปีนหยิบของ


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  3-4 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและข้าห้องน้ำ

ทั่วไป

-ถอดเสื้อได้เรียบร้อย  รวดเร็ว
ใส่เสื้อ  ถอดกระดุม  รูดซิปได้คล่อง
เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้




- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนในครอบครัวได้

- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
-อาบไม่สะอาด
-ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ

- บอกอายุ เพศ  ชื่อ  นามสกุลตนเองได้
-ทำตามคำสั่ง 2-3อย่างได้
-แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  4-5 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ       

ทั่วไป

-ร้อยเชือกรองเท้าได้
-ถอดหรือใส่เสื้อได้โดยมีคนช่วย
-บอกด้านหน้า  ด้านหลังของเสื้อได้




-ใช้มีด  ช้อน  ส้อม
-กินอาหารได้เองโดยไม่ต้องป้อน
-ผู้ใหญ่อาจคลุกหรือฉีกเนื้อให้ก่อน

- อาบน้ำ  เช็ดตัวเอง
- เข้าห้องน้ำ  ล้างมือ  ล้างก้นได้

- เล่นกับเพื่อนบ้านเมื่อเรียกก็กลับ
- ทิ้งของเล่นต้องเตือนให้เก็บ
- ช่วยงานบ้าน  เช่น   จัดโต๊ะ  ทิ้งขยะ  ให้อาหารสัตว์


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  5-6 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ

ทั่วไป

- ผูกเชือกรองเท้าได้ 
- แต่งตัวเองไดทุกขั้น
ช่วยน้องแต่งตัวได้





กินอาหารด้วยช้อนส้อมได้  แต่มักไม่เรียบร้อย
- ไม่ค่อยสระผม
- รู้จักมารยาทในการรับประทานอาหาร

- อาบน้ำ  เช็ดตัวเอง
ไม่ค่อยสระผม
- เข้าห้องน้ำขับถ่ายได้เอง

- ไปโรงเรียน
นำเงินไปใช้ได้เล็กน้อย
- จัดเตียงตนเอง
- เอาเสื้อใช้แล้วใส่ตะกร้า


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง  ครูต้องย่อยงานให้เด็กเป็นทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ  เรียงตามลำดับขั้นตอน   เช่น   การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษขำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีการวางแผนและแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆ ให้มากที่สุด






กิจกรรมท้ายคาบ
ทายสีด้วยภาพวงกลม









การประเมิน


ประเมินตนเอง
- มีความมพร้อมในการเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีความสุขในการรเียนวิชสนี้ทุกคาบ

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี เตรียมสื่ออุปกรณ์มาสอนมีกิจกรรมสนุกๆตั้งแต่เริ่มจนถึงหมดคาบ ทำให้เราไม่เบื่อกับการรเรียนชอวิธีการอนแบบนี้มากค่ะ